ขยายธุรกิจครอบครัวด้วยธรรมนูญครอบครัว สร้างกลไกเกื้อหนุน ไม่ค้าแข่งกงสี
ธรรมนูญครอบครัวคือข้อตกลงร่วมกันของครอบครัวในการต่อยอด และบริหารความมั่งคั่งเพื่อให้คงอยู่รวมถึงสืบทอดต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น หลายครอบครัวได้เข้ามาเพื่อขอรับคำปรึกษาเพื่อสร้างกฎระเบียบครอบครัว และคาดหวังว่าจะเกิดความรักความปรองดอง และร่วมมือกันโดยไม่ทะเลาะกันในอนาคต แต่หารู้หรือไม่ว่าอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการสร้างธรรมนูญครอบครัวที่ไม่มีคนรู้นั้นก็คือ ธรรมนูญครอบครัวคือเครื่องมือในการวางแผนอนาคตให้กับกิจการครอบครัว ซึ่งหนึ่งในกฎเหล็กที่เราในฐานะที่ปรึกษา จะต้องตั้งคำถาม ให้ตัวอย่างเพื่อให้ลูกค้าตกผลึกได้นั้นคือเรื่องของการขยายกิจการโดย “ไม่เกิดการค้าแข่ง” กับธุรกิจเดิมซึ่งอาจก่อนให้เกิดผลเสียอย่างมหาศาลทั้งธุรกิจปัจจุบันและอนาคต (ทำความเข้าใจความหมายธรรมนูญครอบครัวเพิ่มเติมได้ทาง Link)
การขยายธุรกิจครอบครัวคือกลยุทธ์สำคัญในการเอาชนะโลกที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด เช่นเดียวกันกับการเปิดธุรกิจส่วนตัวแม้ตนเองมีธุรกิจครอบครัวอยู่นั้นก็คือเป็นอีกตัวอย่างเพื่อสร้าง Financial Need & Ownership ให้กับตนเอง แต่ไม่ว่าอย่างใดการพูดคุยภายในครอบครัวว่ากิจการรูปแบบใดถือว่าสร้างการค้าแข่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่คนในบ้านจะต้องหารือกัน และต้องกำหนดในชัดเจนขึ้นเพราะไม่เช่นนั้น ก็จะทำให้ครอบครัวมีจุดบอดซึ่งนำไปสู่การทะเลาะกันในธุรกิจครอบครัวไม่ว่าวันใดวันหนึ่ง เพราะการพูดคุยกันจะทำให้คนในครอบครัวเข้าใจว่าแผนของแต่ละธุรกิจของครอบครัวจะดำเนินต่อในอุตสาหกรรมไหน มีโมเดลอะไรเพื่อให้คนในครอบครัวที่บริหารไม่ทำงานขัดแย้งระหว่างกัน อีกมิติหนึ่งนั้นหมายถึงกงสีจะได้สื่อสารได้ว่าธุรกิจแบบไหนที่กงสีขอสงวนไว้เพื่อการขยายกิจการ และส่วนไหนที่แต่ละคนสามารถเปิดกิจการส่วนตัวได้ในอนาคต
กรณีศึกษาลูกค้ารายหนึ่งของธุรกิจครอบครัวผลิตและจัดจำหน่ายเมล็ดยางชั้นนำของประเทศไทย อายุกว่า 40 + ปี รุ่นที่ 3 มีพี่น้อง 3 คน พี่คนโตเป็นผู้บริหารสูงสุด (CEO) คนกลางเป็นผู้บริหารด้านการเงิน (CFO) น้อยคนเล็กเป็นหัวหน้า (CSO) การขายทำงานภายใต้พี่คนโตและเป็นดั่งมือขวาทำงานอย่างใกล้ชิดกับพี่คนโต ธุรกิจครอบครัวเติบโตได้อย่างดีและกำลังขยายกิจการไปสู่ธุรกิจพลาสติก Recycle ในระหว่างทางทุกคนได้แต่งงาน แยกบ้านอยู่และมีครอบครัว ด้วยเหตุที่น้องคนเล็กมีหัวการค้าไม่ต่างกับคนอื่นเลยมี Project เปิดธุรกิจขนส่งสินค้า (Logistics) โดยมีเค้าและภรรยาเป็นเจ้าของกิจการ โดย Idea ธุรกิจนี้เกิดขึ้นมาจากการพูดคุยกันมาซักระยะหนึ่งก่อนที่จะเริ่มดำเนินการในระยะเวลาไล่เลี่ยกันกับที่กงสีจะขยายไปสู่ธุรกิจ Recycle อยู่มาวันหนึ่งพี่คนโตทราบข่าวว่าน้องคนเล็กไปเปิดธุรกิจขนส่งและโกรธเป็นอย่างมากเพราะธุรกิจขนส่งคือโอกาสหากธุรกิจ Recycle ไปได้ดี (เพราะธุรกิจ Recycle จะต้องขนส่งวัตถุดิบ Recycle เข้าโรงงาน) และได้ต่อว่า กล่าวหาน้องคนเล็กว่าใช้ประโยชน์จากแผนธุรกิจครอบครัวเพื่อประโยชน์ของตนเอง เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พี่น้องเกิดรอยร้าวด้านความสัมพันธ์เป็นอย่างมาก จนถึงขั้นไม่พูดคุยกันและหวังว่าจะแยกกงสีกันอยู่
จากกรณีดังกล่าว...คงไม่สามารถกล่าวหาได้ว่าพี่คนโตใจแคบหรือทำเกินกว่าเหตุ หรือน้องคนเล็กใช้ประโยชน์จากแผนวงในหรือออกไปทำธุรกิจส่วนตัวแล้วไม่บอก แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ครอบครัวไม่ได้มีการวางกฎระเบียบความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าการกระทำแบบไหนที่เข้าข่ายการค้าแข่งหรือแย่งโอกาสของธุรกิจครอบครัว และแต่ละคนสามารถสร้างธุรกิจส่วนตัวได้หรือไม่ การรู้เมื่อสายไปในกรณีนี้ทำให้ธุรกิจครอบครัวดังกล่าวได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้าใจกันใหม่โดยสุดท้ายใช้ธรรมนูญครอบครัวเป็นเครื่องมือในการหา Common Ground ในการอยู่ร่วมกันในกงสี และสุดท้ายครอบครัวก็ได้มีกฎตรงกลางที่ทุกคนยอมรับ และทำให้กงสีเข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจส่วนตัวของน้องคนเล็กในสัดส่วนหนึ่ง และให้น้องคนเล็กเป็นเจ้าภาพ เป็นผู้บริหารของกิจการนั้น ด้วยผลการพูดคุยกันนั้นแทนที่ครอบครัวจะแตกแยก กลับกลายเป็นการร่วมมือกันเพื่อขยายกิจการและเสริมความเข้มแข็งในธุรกิจครอบครัว
หากจะกล่าวโดยสรุป
จากกรณีศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น ทุกคนคงได้เห็นแล้วว่าความเชื่อมโยงของการสื่อสารแผนการขยายกงสีและการเปิดกิจการส่วนตัวเป็นอย่างไร รวมไปถึงผลดีผลเสียหากธุรกิจครอบครัวได้สื่อสารและกำหนด Common Ground ที่ทุกคนตกลงกันอย่างชัดเจนโปร่งใส การขยายธุรกิจครอบครัวไม่จำเป็นที่จะต้องให้ CEO คนปัจจุบันเป็นผู้รับเพียงผู้เดียว แต่สามารถกระจายงานสร้างพื้นที่ให้แต่ละคนเป็นเจ้าภาพบริหารในธุรกิจที่ขยายได้ ผลดีที่เกิดขึ้นคือขจัดความเข้าใจผิดจากการตีความของแต่ละคน และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ประกอบกับสร้างให้คนในครอบครัวสามารถดำเนินกิจการส่วนตัวได้โดยไม่ค้าแข่งกับกงสี (หากครอบครัวมีกฎระเบียบอนุญาตให้คนในครอบครัวประกอบกิจการส่วนตัวได้) แต่ผลเสียนั้นมักเกิดนั้นระหว่างการพูดคุยกันช่วงในการหา Common Gound เพราะอาจเกิดความเข้าใจผิดเนื่องจากเอาแผนแต่ละคนมาเปิดเผยและนำมาปรับเพื่อเป็นข้อตกลงกงสี ซึ่งเกือบทุกธุรกิจครอบครัวมักจะเกิดการทะเลาะกันจนไม่กล้าพูดคุยกันต่อเพราะไม่อยากทะเลาะกับคนในครอบครัว ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวจึงจะต้องเข้าไปชี้แจงข้อดีข้อเสีย ทางเลือก รวมไปถึงประสบการณ์จากครอบครัวอื่นเพื่อช่วยให้ครอบครัวได้แนวทางที่เป็นตรงกลางกับทุกคนในบ้านมากที่สุด