ผู้ใหญ่จะไปอยู่ไหน? เมื่อต้องวางแผนสืบทอดกิจการ

คำถามของลูกค้าผู้ใหญ่หลายท่านในธุรกิจครอบครัวคือ “เค้าจะไปอยู่ที่ไหน เมื่อต้องวางแผนการสืบทอดกิจการ?” คำถามสำคัญที่ผู้ใหญ่หลายท่านยังไม่มีคำตอบ และลูก ๆ ก็หาคำตอบให้ไม่ได้...คำตอบง่าย ๆ จากลูกหลาน “เกษียณแล้วก็ไม่ต้องทำงาน” และ “ปล่อยให้ลูก หลานทำไม่ต้องก้าวก่าย” คำตอบดูสวยหรู หลักการดูทำได้ง่าย แต่ในความเป็นจริง “จะทำได้อย่างไร?” เมื่อความผูกพันธ์ และความเป็นห่วงยังคงอยู่กับผู้ใหญ่ทุกท่านมานานหลายทศวรรษ (บางท่านนานกว่าครึ่งชีวิต)

วางแผนสืบทอดกิจการ

ปัจจัยพิจารณาการวางแผนตำแหน่งผู้อาวุโสในธุรกิจครอบครัว

ดังนั้น คำถามสำคัญที่ธุรกิจครอบครัวต้องตอบให้ได้หากต้องการวางแผนการสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืนคือ ผู้ใหญ่จะอยู่ ณ จุดไหนของธุรกิจครอบครัว (ระหว่าง หลังการสืบทอดกิจการ)? จำเป็นต้องอยู่หรือไม่? ความผูกพันธ์  และความเป็นห่วงที่ไม่อาจตัดขาดได้ง่าย ๆ จะสามารถจัดการได้อย่างไร?

หลักการที่หลายธุรกิจครอบครัวให้เข้าไปช่วยวางกฎธรรมนูญครอบครัว วางโครงสร้างธุรกิจ และวางแผนการสืบทอดกิจการจะต้องตอบให้ได้เมื่อกำลังพิจารณาถึงตำแหน่งของผู้ใหญ่เมื่อวางแผนการสืบทอดกิจการนั้นมีอยู่ 4 ปัจจัยสำคัญ ประกอบไปด้วย

  1. บริบทของการแข่งขัน และแผนธุรกิจครอบครัวในโลกอนาคต

  2. อิทธิพล องค์ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าต่อแผนของธุรกิจครอบครัว

  3. ความอยากเป็นเจ้าของภายในธุรกิจครอบครัว

  4. แรงผลักดัน และค่านิยมส่วนตัวของผู้ใหญ่แต่ละท่าน


และเมื่อทำความเข้าใจหลักการ 4 ปัจจัยสำคัญภายในธุรกิจครอบครัวได้แล้วธุรกิจครอบครัวก็สามารถลงมือวางแผนสืบทอดกิจการโดยปฏิบัติได้จริงจาก 2 มิติที่ต้องคำนึง (ความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ / อำนาจตัดสินใจ) และ 4 แนวทางหลัก ดังนี้

การวางแผนสืบทอดกิจการ

1. Shareholder (ผู้ถือหุ้น):

วางแผนสืบทอดกิจการ

1. Shareholder (ผู้ถือหุ้น)

ทางเลือกการวางแผนการสืบทอดกิจการผู้อาวุโส

ผู้ใหญ่ในธุรกิจครอบครัวโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ถือหุ้นควบคู่กับการเป็นผู้บริหาร คนทำงานในธุรกิจครอบครัว โดยความเกี่ยวข้องในธุรกิจครอบครัว และอำนาจการตัดสินใจก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในระดับที่สูง หากมีการสืบทอดกิจการเกิดขึ้นการปรับโครงสร้างให้ผู้ใหญ่เป็นผู้ถือหุ้น และ “ลดความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ” เพื่อเป็นผู้คุมนโยบายของธุรกิจครอบครัวก็จะทำให้เปิดพื้นที่สำหรับคนรุ่นใหม่ในการวางกลยุทธ์จากนโยบายที่ผู้ใหญ่ได้ตั้งขึ้น บริหารได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเป็นเจ้าของในการทำงาน และผู้ใหญ่ก็สามารถกำกับดูแล เป็น checker เป็นคนคอยดูการเติบโตอย่างห่าง ๆ แต่ “มีอำนาจตัดสินใจสูง” ให้กับธุรกิจครอบครัวได้อย่างปลอดภัย

ธุรกิจครอบครัวหลายครอบครัวที่วางกลยุทธ์เช่นนี้ได้มองเห็นว่าในอนาคตการแข่งขันด้านข้อมูล ความรวดเร็วจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การที่มีคนรุ่นใหม่เป็นคนขับเคลื่อนให้คล่องตัวจึงเป็นประโยชน์กว่า ทางผู้ใหญ่จึงเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้บริหาร และขยับตนเองไปเป็นผู้ดูแลนโยบายกับความปลอดภัยในธุรกิจครอบครัว ใช้องค์ความรู้ connection ต่าง ๆ คอยสนับสนุนธุรกิจครอบครัวอีกช่องทางนึง


2. Board of “Director” (กรรมการ)

วางแผนสืบทอดกิจการ

2. Board (กรรมการ)

ทางเลือกการวางแผนการสืบทอดกิจการผู้อาวุโส

การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างองค์แยกชั้นระหว่างผู้บริหารกับกรรมการบริษัทในธุรกิจครอบครัวที่เมื่อก่อนดูเหมือนจะเป็นตำแหน่งเดียวกันที่มีไว้เพื่อผู้ใหญ่ในธุรกิจครอบครัวอย่างชัดเจนจะเป็นการสร้างพื้นที่ในธุรกิจครอบครัวให้ผู้ใหญ่สามารถยัง “มีบทบาทเกี่ยวข้องในธุรกิจครอบครัว” ในระดับสูง “มีอำนาจตัดสินใจ” ในวาระสำคัญ ไม่ต้องทำงานในหมวดของการบริหารเพราะแต่งตั้งให้คนรุ่นใหม่มาแทนที่เพื่อเพิ่มศักยภาพ และขับเคลื่อนการสืบทอดกิจการให้เป็นรูปธรรม

ผู้ใหญ่ในธุรกิจครอบครัวที่มองการขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวให้ทันกับตลาดในปัจจุบัน แต่ยังมีอิทธิพลทางความคิด มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอย่างหนาแน่น และต้องสนับสนุน และช่วยตัดสินใจร่วมกับคนรุ่นใหม่ในการทำงานอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงอาจจะมีความรู้สึกผูกพันธ์ในการทำงาน และยังอยากที่จะมีส่วนร่วมในธุรกิจครอบครัวมักจะใช้ทางเลือกนี้เป็นแนวทางปฏิบัติภายในธุรกิจครอบครัว


3. Philanthropist (มูลนิธิ / การกุศล)

การวางกลยุทธ์ Philanthropist มีไว้เพื่อผู้ใหญ่ที่ประสงค์จะเกษียณตนเองในธุรกิจครอบครัว จึงจะ “ไม่ประสงค์ หรือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ” และ “ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานในธุรกิจครอบครัว” ทั้งนี้ เนื่องจากแรงผลักดัน และค่านิยมบางประการของผู้ใหญ่ บทบาท หน้าที่ของผู้ใหญ่ในกลุ่มนี้จะเปลี่ยนแปลงไปจากการผลักดันธุรกิจครอบครัว กลายเป็นการผลักดันการสนับสนุนสังคม และชื่อเสียงของครอบครัวผ่านจิตกุศล การบริจาคหรือกิจกรรมเพื่อสังคม รวมไปถึงการจัดตั้งมูลนิธิของครอบครัว

วางแผนสืบทอดกิจการ

3. Philanthropist (มูลนิธิ / การกุศล)

ทางเลือกการวางแผนการสืบทอดกิจการผู้อาวุโส

ธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินการโดยมีแนวทางดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะมองถึงการสร้างพื้นที่สำหรับสมาชิกครอบครัวที่มีแรงผลักดันทางด้านสังคมสูง มีความประสงค์ในการช่วงเหลือสังคม สร้างสมดุลระหว่างสร้างผลกระทบที่ดีต่อธุรกิจ และสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือสมาชิกครอบครัวรุ่นใหม่ที่สนใจในด้านนี้เช่นกัน ทั้งนี้ หากธุรกิจครอบครัวได้มีการบริจาคไปที่มูลนิธิ (บางประเภท) ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นประโยชน์กับทางธุรกิจครอบครัวอีกชั้นหนึ่ง


4. Supporter (ที่ปรึกษา / ผู้ฝึกสอน)

ในกรณีที่ผู้ใหญ่บางที่มีประสบการณ์ และองค์ความรู้บางประการที่เฉพาะเจาะจง และมีคุณค่าในการส่งมอบต่อให้กับคนทำงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ รวดเร็ว แต่ต้องการคำแนะนำในการบริหาร ประสบการณ์หรือ “กึ๋น” ในหน้าที่ หรือแม้กระทั่งแนวทางในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิเช่น ผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารฝ่ายการผลิต ฝ่ายขาย เป็นต้น) การมีผู้ใหญ่ที่เป็นที่ปรึกษา (Consultant) หรือผู้ฝึกสอน (Advisor) ซึ่ง “ไม่มีอิทธิพลด้านการตัดสินใจ” แต่ “มีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัว” หรือกล่าวอีกนัยคือมีอิทธิพลทางความคิดเพื่อให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ได้วิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างครอบคลุม

ลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่ในธุรกิจครอบครัวที่มีองค์ความรู้หลายท่านได้เล็งเห็นอนาคตของการแข่งขันในตลาดที่รวดเร็ว แต่ยังจำเป็นต้องมีการสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในเรื่องของการบริหาร และสนับสนุนในเรื่องทักษะพิเศษบางประการ โดยอาจมีความสนใจพิเศษด้านอื่นส่วนตัว อาทิเช่น เปิดธุรกิจส่วนตัว (ตามที่ได้ตกลงกับครอบครัวตามธรรมนูญครอบครัว) เลยมีข้อจำกัดด้านเวลา และการตัดสินใจ จึงนิยมใช้แนวทางนี้ในการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารธุรกิจ ควบคู่กับการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้ใหญ่อีกแรงหนึ่ง

วางแผนสืบทอดกิจการ

4. Supporter (ที่ปรึกษา / ผู้ฝึกสอน):

ทางเลือกการวางแผนการสืบทอดกิจการผู้อาวุโส


จากหลักการการพิจารณาตำแหน่งรวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ในธุรกิจครอบครัว ก็จะสามารถตอบคำถามได้ว่าผู้ใหญ่จะอยู่ ณ จุดไหนของธุรกิจครอบครัว...ผู้ใหญ่ในกงสีไม่จำเป็นต้องอยู่ค้ำฟ้า นั่งทับต่ำแหน่งตลอดไป เพียงแต่ต้องเข้าใจโครงสร้างของธุรกิจอย่างทะลุปรุโปร่ง วางแผนการมีส่วนร่วมตามอนาคตธุรกิจอย่างเหมาะสม และบริหารการเติบโต ความผูกพันธ์ และแรงผลักดันส่วนตัวอย่าสมดุล ลูกค้าหลายรายนำแนวทางนี้ไปปฏิบัติ และได้ผลลัพธ์กลับมาอย่างน่าดีใจ เนื่องจากผู้ใหญ่หลาย “ท่านเข้าใจ” ในทางเลือก เข้าใจใน Career Path ของตนเองในอนาคต พวก “ท่านจึงกล้าตัดสินใจ” ก็คงไม่ต่างกับคนรุ่นใหม่ที่จะไม่ตัดสินใจหากยังไม่เข้าใจว่าที่ทำไปมีประโยชน์กับเขา และกงสีอย่างไร?

การวางแผนสืบทอดกิจการต้องอย่าลืมภาพของการเติบโต เข้าใจโครงสร้าง กฎหมาย ภาษี และที่สำคัญคือความสัมพันธ์ ความผูกพันที่แต่ละคนมีต่อธุรกิจครอบครัว หากธุรกิจครอบครัวเข้าใจองค์ประกอบดังกล่าวแล้วการออกแบบการวางแผนการสืบทอดกิจการที่ทุกคนยอมรับก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป หรือในบางกรณีของธุรกิจครอบครัวที่ได้ให้ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวเข้าไปช่วยพูดคุย ออกแบบเพื่อทางลัดที่รวดเร็ว และครอบคลุมมากขึ้นก็เป็นอีกทางเลือกเพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในธุรกิจครอบครัว เพราะสุดท้ายแล้วธุรกิจครอบครัวต้องดำเนินต่อ สร้างรากฐานสำคัญของธุรกิจ และครอบครัวเพื่อส่งต่อธุรกิจ และความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

Previous
Previous

ธรรมนูญครอบครัว สร้างให้ถูกต้องตามขั้นตอน Family Charter Canvas ตอนที่ 1.

Next
Next

ธรรมนูญครอบครัว จัดทำได้ หลุด “กับดักความไม่รู้” ด้วย Family Charter Canvas